การทำไนโตรเจนเหลว



การทำไนโตรเจนเหลว
            ไนโตรเจนเป็นก๊าซที่ไม่มีสี  ไม่มีกลิ่นและไม่มีรส  ไม่ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยา มีจุดเดือดประมาณ -196  0C  มีจุดหลอมเหลวประมาณ  -210 0C  ละลายน้ำได้เล็กน้อย  เบากว่าอากาศ
            การทำไนโตรเจนเหลว  ใช้วิธีเตรียมจากอากาศ  (อากาศมีก๊าซไนโตรเจนประมาณ  79  %  และก๊าซออกซิเจนประมาณ   20  %  โดยปริมาตร)  ผ่านกระบวนการ Liquefaction  โดยการเพิ่มความดันและลดอุณหภูมิจากนั้นจึงแยกออกซิเจนออก  จะได้ไนโตรเจนเหลว


            เริ่มต้นดูดอากาศเข้าเครื่องอัดอากาศผ่านลงในสารละลาย  NaOH  เพื่อกำจัด  CO2 (g) 
                        CO2  (g)  +  2  NaOH   ®   Na2CO3  +   H2O
            จากนั้นจึงผ่านอากาศที่กำจัด CO2 (g)  แล้ว  เข้าไปในเครื่องกรองน้ำมันเพื่อแยกน้ำมันออก  พร้อมกับทำให้แห้งด้วยสารดุดความชื้น คือ อะลูมินา  (AL2O3)  จะได้อากาศแห้งซึ่งมีก๊าซไนโตรเจน  และออกซิเจน  เป็นส่วนใหญ่  เมื่อลดอุณหภูมิลงจนถึงประมาณ   -183  0C  ก๊าซ ออกซิเจน จะกลายเป็นของเหลวออกมาก่อน  แลเมื่อลดอุณหภูมิต่อไปอีกจนถึงประมาณ  -1960C  ก๊าซไนโตรเจนจะกลายเป็นของเหลวแยกตัวออกมา  โดยมีก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซเฉื่อยเหลืออยู่  ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกัน
            ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารของพืช  จึงนำไปใช้ในการทำปุ๋ย  เช่น  ปุ๋ยยูเรีย  (H2NCONH2)  และปุ๋ย (NH4)2SO4  เป็นต้น  สำหรับไนโตรเจนเหลวมีอุณหภูมิต่ำมากจึงนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำความเย็น  เช่นการแช่แข็งอาหารต่าง ๆ  ในโรงงานหรือในรถบรรทุกขณะขนส่ง  รวมทั้งใช้มากในทางการแพทย์  เช่น  การแช่แข็งเลือด  แช่แข็งเซลล์
ไขกระดูก หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อให้เก็บรักษาได้นาน


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม